Course Structure 2562

โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562

หลักสูตรการศึกษาแบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา โดยนักศึกษาสามารถเลือกศึกษาแผนใดแผนหนึ่งดังต่อไปนี้

จำนวนหน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 แผน ข
วิชาบังคับ 27 27
วิชาเลือก 3 9
วิทยานิพนธ์ 12
การค้นคว้าอิสระ 6
รวม 42 42
course-structure-2562-msmis

วิชาในหลักสูตร

COURSE OFFERED

รายวิชาเสริมพื้นฐาน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร, ความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การสื่อสารทางธุรกิจ

วิชาบังคับ

การบริหารโครงการระบบสารสนเทศ, การปรับปรุงธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ, การจัดการธุรกิจสมัยใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัล, การจัดการการตลาดและการตลาดดิจิทัล, การจัดการข้อมูลและปัญญาธุรกิจ, สถาปัตยกรรมวิสาหกิจเพื่อการปฏิรูปองค์กร, ธุรกิจดิจิทัล, ความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ, ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ

วิชาเลือก

การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยนวัตกรรมไอที, การบริหารจัดการระบบสารสนเทศของภาคอุตสาหกรรมบริการ, กฏหมาย ระเบียบ และนโยบายสาธารณะด้านไอทีกับการจัดการธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม, องค์กรอัจฉริยะในยุคดิจิทัล, การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสมัยใหม่, โปรแกรมเครื่องมือสำหรับพัฒนา ระบบงานบนเว็บและมือถือ, การออกแบบและการประกันคุณภาพระบบสารสนเทศ, การจัดการฐานข้อมูลชั้นสูง,  การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ, การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับธุรกิจ, การจัดการการประมวลผลแบบคลาวด์, เทคโนโลยีไร้สายและการเชื่อมต่อสิ่งของผ่านอินเทอร์เน็ต, สถาปัตยกรรมเชิงบริการ, เครื่องมือและเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ

วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2)

วิทยานิพนธ์

การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)

การค้นคว้าอิสระ 1
การค้นคว้าอิสระ 2

แผน ก แบบ ก2

(ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์)

controla

วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต

choicea

วิชาเลือก 3 หน่วยกิต

thesisa

วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผน ข

(ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

controlb

วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต

choiceb

วิชาเลือก 9 หน่วยกิต

researchb

การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

รายละเอียดหลักสูตร

1) วิชาเสริมพื้นฐาน 4.5 หน่วยกิต

(1) วิชาเสริมพื้นฐาน 4.5 หน่วยกิต

รายวิชาเสริมพื้นฐาน

นักศึกษา จะต้องศึกษาวิชาเสริมพื้นฐานจำนวน 3 วิชา ให้ได้ผลคะแนน P (ผ่าน) ก่อน จึงจะสามารถศึกษาวิชาในระดับปริญญาโทของหลักสูตรได้ จำนวนหน่วยกิตและค่าระดับที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวจะไม่นำมาคิดรวมกับหลักสูตร ดังต่อไปนี้

1) นักศึกษาสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีหรือสูงกว่าเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ จะได้รับการยกเว้นวิชา รส.551 ความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ต้องจดทะเบียนเรียนวิชาเสริมพื้นฐานดังกล่าว สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจได้รับการยกเว้นวิชา รส.551 ถ้าสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีความรู้พอที่จะได้รับการยกเว้น

2) นักศึกษาสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีทางบัญชีหรือด้านบริหารธุรกิจ จะได้รับการยกเว้นวิชา รส.501 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร ไม่ต้องจดทะเบียนเรียนวิชาเสริมพื้นฐานดังกล่าว

3) นักศึกษาทุกคนจะต้องเรียนวิชาเสริมพี้นฐาน รส.591 การสื่อสารทางธุรกิจ

รหัส รายวิชา จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
รส.501
IS 501
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร
Fundamental of Financial and managerial Accounting

1.5 (1.5-0-4.5)

รส.551
IS 551
ความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology Essentials

1.5 (1.5-0-4.5)

รส.591
IS 591
การสื่อสารทางธุรกิจ
Business Communication

1.5 (1.5-0-4.5)

2) วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต

2) วิชาบังคับ

นักศึกษาที่ศึกษาแผน ก แบบ ก2 และแผน ข จะต้องศึกษาวิชาบังคับ จำนวน 9 วิชา 27 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

 

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)

รส.611
IS 611
การบริหารโครงการระบบสารสนเทศ
Managing Information Systems Projects

3 (3-0-9)

รส.612
IS 612
การปรับปรุงธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ
Business Improvement using IS

3 (3-0-9)

รส.613
IS 613
การจัดการธุรกิจสมัยใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัล
Modern business management and digital technology

3 (3-0-9

รส.614
IS 614
การจัดการการตลาดและการตลาดดิจิทัล
Marketing Management and Digital Marketing

3 (3-0-9)

รส.651
IS 651
การจัดการข้อมูลและปัญญาธุรกิจ
Data Management and Business Intelligence

3 (3-0-9)

รส.652
IS 652
สถาปัตยกรรมวิสาหกิจเพื่อการปฏิรูปองค์กร
Enterprise architecture for organizational transformation

3 (3-0-9)

รส.653
IS 653
ธุรกิจดิจิทัล
Digital Business

3 (3-0-9)

รส.654
IS 654
ความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ
Information System Security in Business

3 (3-0-9)

รส.691
IS 691
ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ
Research Methodology in Information Systems

3 (3-0-9)

3) วิชาเลือก

3) วิชาเลือก

1) นักศึกษา แผน ก แบบ ก 2 จะต้องเลือกศึกษาวิชาเลือก 1 วิชา 3 หน่วยกิต

2) นักศึกษา แผน ข จะต้องเลือกศึกษาวิชาเลือก 3 วิชา 9 หน่วยกิต

โดยเลือกศึกษาจากรายวิชา ดังต่อไปนี้

 

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)

รส.706
IS 706
การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยนวัตกรรมไอที
IT Innovation for Entrepreneurship in Digital Economy

3 (3-0-9)

รส.716
IS 716
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศของภาคอุตสาหกรรมบริการ
Managing Information System for Service Industry

3 (3-0-9)

รส.717

IS 717

กฏหมาย ระเบียบ และนโยบายสาธารณะด้านไอทีกับการจัดการ ธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม
Managing Business and Social Responsibility under IT Regulations and Public Policy

3 (3-0-9)

รส.718
IS 718
องค์กรอัจฉริยะในยุคดิจิทัล
Intelligent Organization in digital era

3 (3-0-9)

รส.766
IS 766
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสมัยใหม่
Programming with Modern Languages

3 (3-0-9

รส.767
IS 767
โปรแกรมเครื่องมือสำหรับพัฒนา ระบบงานบนเว็บและมือถือ
Software Development Tools for Web and Mobile Applications

3 (3-0-9)

รส.768
IS 768
การออกแบบและการประกันคุณภาพระบบสารสนเทศ
Information Systems Design and Quality Assurance

3 (3-0-9)

รส.777
IS 777
การจัดการฐานข้อมูลชั้นสูง
Advanced Database Management

3 (3-0-9)

รส.778
IS 778
การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ
Information System Audit

3 (3-0-9)

รส.785
IS 785
การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับธุรกิจ
Machine Learning in Business

3 (3-0-9)

รส.786
IS 786
การจัดการการประมวลผลแบบคลาวด์
Cloud Computing Management

3 (3-0-9)

รส.787
IS 787
เทคโนโลยีไร้สายและการเชื่อมต่อสิ่งของผ่านอินเทอร์เน็ต
Wireless Technologies and Internet of Things

3 (3-0-9)

รส.788
IS 788
สถาปัตยกรรมเชิงบริการ
Service-oriented architecture (SOA)

3 (3-0-9)

รส.791
IS 791
เครื่องมือและเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ
Tools and Techniques for Business Data Analysis

3 (3-0-9)

4) วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2) 12 หน่วยกิต

4) วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2) 12 หน่วยกิต

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

รส.800
IS 800
วิทยานิพนธ์
Thesis

12

5) วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข) 6 หน่วยกิต

5) วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข) 6 หน่วยกิต

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

รส.771
IS 771
การค้นคว้าอิสระ 1
Independent Study I

3

รส.772
IS 772
การค้นคว้าอิสระ 2
Independent Study II
3

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา วิชาเสริมพื้นฐาน

รส.501 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร 1.5 (1.5-0-4.5)
IS 501 Fundamental of Financial and managerial Accounting
หลักการบัญชีการเงินและบัญชีบริหารเบื้องต้น กระบวนการบันทึกข้อมูลทางบัญชี จนถึงการออกงบการเงิน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ และควบคุมทางการเงินที่เป็นประโยชน์ผู้บริหาร

รส.551 ความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.5 (1.5-0-4.5)
IS 551 Information Technology Essentials
ศึกษาพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลักคือระบบคอมพิวเตอร์และข่ายงานคอมพิวเตอร์ เนื้อหาครอบคลุมความรู้พื้นฐานกว้าง ๆ เกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และระบบเครือข่ายซึ่งจะเน้นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษารู้จักศัพท์เทคนิคที่จำเป็นเกี่ยวคอมพิวเตอร์และข่ายงานคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นฐานภาษาคอมพิวเตอร์และเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมที่ควรรู้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นนักเขียนโปรแกรม วิชานี้เปิดสอนสำหรับผู้มีพื้นความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนวิชาอื่นในหลักสูตร

รส.591 การสื่อสารทางธุรกิจ 1.5 (1.5-0-4.5)
IS 591 Business Communication
หลักการสื่อสารให้ได้ผล สภาพแวดล้อมภายในองค์กร และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการสื่อสาร การฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจ การวางแผนและการนำเสนอผลงาน ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร รวมทั้งเทคนิคและรูปแบบการสื่อสารในแบบต่างๆ

คำอธิบายรายวิชา วิชาบังคับ

รส.611 การบริหารโครงการระบบสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 611 Managing Information Systems Projects
วงจรการพัฒนาระบบ ความหลากหลายของตัวแบบ แนวคิด และระเบียบวิธีต่างๆ (Approaches and Methodologies) ที่ใช้พัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น Waterfall, Spiral, Agile, Structured และ Object-oriented เป็นต้น รวมทั้งกระบวนการและกิจกรรมของการบริหารโครงการ หลักการและเทคนิคการบริหารโครงการระบบสารสนเทศทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเทคนิคการบริหารขอบเขตโครงการ (project scope) การบริหารทรัพยากรทั้งบุคลากร เวลา และเงินงบประมาณ การบริหารการสื่อสาร (Communication management)การบริหารการจัดซื้อ/จัดหา (Procurement management) การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ (Risk management) การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง (Change management) การควบคุมและปรับปรุงคุณภาพของระบบสารสนเทศโดยใช้ตัวแบบ CMMI การจัดทำ TOR และการใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารโครงการจริง

รส.612 การปรับปรุงธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 612 Business Improvement using IS
ทฤษฎีพื้นฐานต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ เช่น ความหมายของกระบวนการทางธุรกิจ ประเภทของกระบวนการทางธุรกิจและตัวอย่างของกระบวนการทางธุรกิจในองค์กรต่างๆ การจัดทำตัวแบบกระบวนการทางธุรกิจ ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น DFD, UML, BPMN เป็นต้น การวิเคราะห์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและระบุปัญหาของกระบวนการทางธุรกิจ วิธีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การใช้ระบบสารสนเทศในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ การจัดหา วิเคราะห์และการจัดทำข้อกำหนดความต้องการของระบบสารสนเทศดังกล่าว รวมถึงการใช้โปรแกรมเครื่องมือต่างๆ สำหรับทำตัวแบบและวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

รส.613 การจัดการธุรกิจสมัยใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 613 Modern business management and digital technology
สภาพแวดล้อมของการบริหารธุรกิจ การวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์ การจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง หลักการและเครื่องมือที่ใช้สำหรับการบริหารหน้าที่งานหลักต่าง ๆ ทางธุรกิจ เช่น หน้าที่ด้านการตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น จรรยาบรรณและความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม รวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อธุรกิจ

รส.614 การจัดการการตลาดและการตลาดดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 614 Marketing Management and Digital Marketing
ศึกษากระบวนการจัดการการตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการตลาด การวิเคราะห์การแข่งขันและพฤติกรรมลูกค้า วางแผนกลยุทธ์และกิจกรรมการตลาด ภาพรวมการตลาดดิจิทัล เข้าใจความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนกำหนดกลยุทธ์การตลาด อาทิ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด การกำหนดกลยุทธ์ด้วยการสร้างเนื้อหา การวางแผนการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลชนิดต่าง ๆ การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา และเครื่องมือการตลาดดิจิทัลเกิดใหม่

รส.651 การจัดการข้อมูลและปัญญาธุรกิจ (3-0-9)
IS 651 Data Management and Business Intelligence
ศึกษาแนวคิดและหลักการออกแบบ เครื่องมือ เทคนิคและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฐานข้อมูลและคลังข้อมูล ภาษาฐานข้อมูล (Structural Query Language หรือ SQL) การออกแบบวิธีจัดเก็บที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการใช้ข้อมูล ข้อควรคำนึงในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การใช้เครื่องมือช่วยในการค้นและเรียกข้อมูลมานำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้งาน รวมถึง BI infrastructure ซึ่งประกอบด้วย การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing หรือ OLAP) แผงหน้าปัด (Dashboard) สกอร์การ์ด (Scorecard) เทคนิค รวมถึงสถิติและเครื่องมือสำหรับเสาะหาข้อมูลที่มีคุณค่าต่อธุรกิจ (Data mining) ตลอดจนประเด็นด้านจริยธรรมในการใช้ข้อมูล

รส.652 สถาปัตยกรรมวิสาหกิจเพื่อการปฏิรูปองค์กร 3 (3-0-9)
IS 652 Enterprise architecture for organizational transformation
แนวคิด บทบาทและความสำคัญของสถาปัตยกรรมวิสาหกิจ (Enterprise Architecture หรือ EA) หลักและระเบียบวิธีของ EAแบบต่าง ๆ EA framework ที่อยู่ในกระแสนิยม การสร้างตัวแบบ EA (EA Modelling) การจัดการ EA (การพัฒนา การสร้าง การใช้และบำรุงรักษา) ข้อควรคำนึง แนวทาง (guide line) และแนวปฏิบัติที่ดีในการนำ EA ไปปฏิบัติ แนวโน้มของ EA ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รส.653 ธุรกิจดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 653 Digital Business
แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์ โมเดลการทำธุรกิจออนไลน์ กลยุทธ์และวิธีวิเคราะห์ธุรกิจออนไลน์ ทางเลือกในการทำระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจออไลน์ทั้งด้านหน้าร้าน (Front end) และหลังร้าน (Back end) รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการชำระเงิน ระบบขนส่ง เป็นต้น การทำการตลาดของธุรกิจออนไลน์เพื่อให้เป็นที่รู้จัก การประเมินผลสำเร็จของธุรกิจออนไลน์รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

รส.654 ความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 654 Information System Security in Business
แนวคิดการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรตามกรอบแนวคิด Cobit และกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย การรักษาความมั่นคงปลอดภัยพื้นฐาน และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้บริหารการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นต้องทราบ เพื่อให้สามารถบริหารการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฝึกหัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้องค์กรมีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม รวมถึงแผนการทำให้ระบบสารสนเทศกลับคืนสู่สภาพเดิมจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจการวิเคราะห์ความเสี่ยงของเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร การกำหนดมูลค่าการรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุน เข้าใจเทคนิคการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้

รส.691 ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 691 Research Methodology in Information Systems
แนวคิด หลักการ รูปแบบ ขั้นตอนในการทำวิจัยทางธุรกิจ (ประกอบด้วย การระบุปัญหา การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดกรอบการวิจัย การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การจัดทำเครื่องมือเพื่อการวิจัย การวิเคราะห์ผลการวิจัย และการรายงานผลการวิจัย) นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติจัดทำวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการเลือกหัวข้อวิจัย จัดทำข้อเสนอการวิจัย ปฏิบัติการวิจัยและรายการผลการวิจัยทางธุรกิจ นอกจากนี้นักศึกษาจะได้ศึกษาการจัดทำวิจัยเชิงคุณภาพในเบื้องต้นด้วย

คำอธิบายรายวิชา วิชาเลือก

รส.706 การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยนวัตกรรมไอที 3 (3-0-9)
IS 706 IT Innovation for Entrepreneurship in Digital Economy
แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการการเป็นผู้ประกอบการ โดยเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตัวแบบการทำธุรกิจ (Business Model) ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเป็นผู้ประกอบการ เช่น กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหลักการบริหารจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ เช่น การกำหนดกลยุทธ์ การจัดทำแผนธุรกิจ แผนการเงิน แผนบุคลากร แผนการดำเนินงาน และการจัดโครงสร้างการดำเนินงาน เป็นต้น

รส.716 การบริหารจัดการระบบสารสนเทศของภาคอุตสาหกรรมบริการ 3 (3-0-9)
IS 716 Managing Information System for Service Industry
กระบวนการทางธุรกิจขององค์กรในภาคอุตสาหกรรมบริการ เช่น อุตสาหกรรมดูแลสุขภาพ (Healthcare) หรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism) เป็นต้น ระบบสารสนเทศที่ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมนั้นใช้งาน รวมทั้งปัญหาและวิธีการบริหารจัดการระบบสารสนเทศดังกล่าวให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าได้

รส.717 กฏหมาย ระเบียบ และนโยบายสาธารณะด้านไอทีกับการจัดการธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม 3 (3-0-9)
IS 717 Managing Business and Social Responsibility under IT Regulations and Public Policy
กฏหมายไอที ระเบียบ และนโยบายไอทีของภาครัฐ นโยบายสาธารณะด้านไอที รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมาย ระเบียบ และนโยบายดังกล่าว วิเคราะห์ถึงผลกระทบของกฏหมายไอที ระเบียบ และนโยบายไอทีของภาครัฐที่มีต่อธุรกิจ ทั้งในด้านการทำงานและการสร้างโอกาสทางธุรกิจจากนโยบายไอที รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้ไอทีของธุรกิจที่มีต่อสังคม เพื่อใช้สำหรับกำหนดนโยบายการใช้ไอทีขององค์กร

รส.718 องค์กรอัจฉริยะในยุคดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 718 Intelligent Organization in digital era
วิชาบังคับก่อน: สอบได้วิชา รส.601 กลยุทธ์และการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
องค์ประกอบขององค์กรอัจฉริยะ การบริหารเพื่อสร้างองค์กรอัจฉริยะ การบริหารความรู้ การบริหารเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพขององค์กร (เช่น การเข้าถึงลูกค้า การลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ความสามารถในการเพิ่มความแตกต่าง เป็นต้น) การบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ การบูรณาการเครื่องมือ แนวคิด และทฤษฎีเพื่อพัฒนาองค์กรสู่องค์กรอัจฉริยะ

รส.766 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสมัยใหม่ 3 (3-0-9)
IS 766 Programming with Modern Language
ภาษาโปรแกรมเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มได้รับความนิยม จุดเด่น ข้อจำกัดของภาษาและลักษณะงานที่เหมาะสมกับการใช้ภาษา โครงสร้าง ไวยากรณ์คำสั่งของภาษาและเครื่องมือที่ใช้สำหรับเขียนภาษานั้นๆ เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาได้

รส.767 โปรแกรมเครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบงานบนเว็บและมือถือ 3 (3-0-9)
IS 767 Software Development Tools for Web and Mobile Applications
สถาปัตยกรรม โครงสร้าง และหลักการทำงานของโปรแกรมเครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนเว็บ (Web application) และบนอุปกรณ์พกพา (Mobile application) เช่น โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งศึกษาถึงการใช้งานและฝึกทักษะการใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ ของโปรแกรมเหล่านี้เพื่อสร้างองค์ประกอบต่างๆ ของซอฟต์แวร์ ให้สามารถทำงานบนเว็บและบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม (platform) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เช่น iOS หรือ Android ได้

รส.768 การออกแบบและการประกันคุณภาพระบบสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 768 Information Systems Design and Quality Assurance
วิชาบังคับก่อน: สอบได้ รส.611 การบริหารโครงการระบบสารสนเทศ
แนวคิดสมัยใหม่ของการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสารสนเทศ เช่น การใช้ UX (User experience) เพื่อออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ การใช้แนวคิด SOA และ Component based ในการออกแบบระบบ เป็นต้น รวมทั้งการสร้างและทดสอบคุณภาพของระบบสารสนเทศด้วยวิธีการต่างๆ

รส.777 การจัดการฐานข้อมูลชั้นสูง 3 (3-0-9)
IS 777 Advanced Database Management
การจัดการฐานข้อมูลโมเดลต่าง ๆ ที่อยู่ในกระแสนิยม ทั้งที่เป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบตาราง และไม่ใช่แบบตาราง เช่น ฐานข้อมูลเชิงอ็อบเจกต์ ฐานข้อมูลเอ็กซ์เอ็มแอล เพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การจัดระเบียบ การออกแบบการจัดเก็บข้อมูลทั้งทางตรรกะและกายภาพเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานการค้นคืนและการปรับแต่งสมรรถนะของฐานข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการใช้งานพร้อมกัน บูรณภาพ (integrity) และความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งการจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่

รส.778 การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 778 Information System Audit
การทำแผนการตรวจสอบ (Audit program) ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักฐานประกอบการตรวจสอบ และเทคนิคต่างๆ ทั้งการตรวจสอบแบบดั้งเดิมและแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตรวจสอบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และค้นหาสิ่งผิดปกติในสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายให้ทราบว่ากิจการมีการติดตั้งระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม รวมทั้งการจำลองการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถจัดทำแผนการตรวจสอบ แบบสอบถาม กระดาษทำการ และการรายงานการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

รส.785 การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 785 Machine Learning in Business
ศึกษาพื้นฐานทางเทคนิค ขั้นตอนวิธี (algorithm) และการประยุกต์การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ผู้เรียนจะได้เรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในการนำขั้นตอนวิธีหลากหลายแบบมาประยุกต์ใช้ทางธุรกิจ เนื้อหาที่เรียนจะครอบคลุมความรู้ต่าง ๆ เช่น การจำแนกประเภท (classification), การจัดกลุ่ม (clustering), การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning), การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (unsupervised learning), การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (reinforce learning), โครงข่ายประสาท (neural networks), การเรียนรู้แบบลึก (deep learning) และประเด็นทางด้านจริยธรรมในการใช้การเรียนรู้ของเครื่อง ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในกระแสนิยม

รส.786 การจัดการการประมวลผลแบบคลาวด์ 3 (3-0-9)
IS 786 Cloud Computing Management
ความหมาย ประเภท คุณลักษณะของคลาวด์ และตัวอย่างของระบบงาน (Application) บนคลาวด์ สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ ของคลาวด์ เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการประมวลผลแบบคลาวด์ เช่น หน่วยเก็บข้อมูลบนคลาวด์ การออกแบบและการบริหารจัดการ การประมวลผลแบบคลาวด์ ทั้งในมุมของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ความมั่นคงปลอดภัยใน การประมวลผลแบบคลาวด์ รวมทั้งประโยชน์ของการประมวลผลแบบคลาวด์ ที่มีต่อธุรกิจ

รส.787 เทคโนโลยีไร้สายและการเชื่อมต่อสิ่งของผ่านอินเทอร์เน็ต 3 (3-0-9)
IS 787 Wireless Technologies and Internet of Things
ความหมายของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) โอกาส ความท้าทาย และอุปสรรคของ IoT การประยุกต์ใช้ IoT กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องของ IoT เทคโนโลยีและเครื่องมือสำหรับ IoT การออกแบบ IoT ในเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ การสร้างและการปรับใช้ IoT ให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับองค์กร รวมถึงข้อควรพิจารณาในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

รส.788 สถาปัตยกรรมเชิงบริการ 3 (3-0-9)
IS 788 Service-Oriented Architecture (SOA)
ความหมายของสถาปัตยกรรมเชิงบริการ (SOA) ข้อดีข้อเสียของ SOA โมเดลทางธุรกิจที่สอดคล้องกับ SOA สถาปัตยกรรมของ SOA การวิเคราะห์และออกแบบโมดูลบริการ, เทคโนโลยีและเครื่องมือสำหรับการสร้าง SOA การควบคุมและกำกับดูแล SOA รวมถึงการบริหารจัดการกลุ่มโมดูลบริการและกรณีศึกษาของ SOA ในอุตสาหกรรมต่างๆ

รส.791 เครื่องมือและเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 791 Tools and Techniques for Business Data Analysis
วิชาบังคับก่อน: สอบได้วิชา รส.651 การจัดการข้อมูลและปัญญาธุรกิจ และวิชา รส.691 ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ
วัตถุประสงค์ การใช้งาน วิธีการ ข้อสมมติฐานเบื้องต้น และข้อจำกัดการใช้งานของโมเดลทางคณิตศาสตร์ต่างๆ และวิธีการทางสถิติต่างๆ ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล เช่น นันพาราเมตริก (Non parametric Statistics) , Cluster analysis, Non-Linear regression, Logistic regression, Time series analysis เป็นต้น รวมถึงการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติต่างๆ

วิทยานิพนธ์

รส.800 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
IS 800 Thesis
สร้างโครงการวิจัยและดำเนินการวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียนรายงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ รวมถึงมีจริยธรรมในการทำวิจัยและเผยแพร่ผลงาน

การค้นคว้าอิสระ

รส.771 การค้นคว้าอิสระ 1 3 (3-0-6)
IS 771 Independent Study I
ศึกษาและทำโครงงานด้านระบบสารสนเทศที่ตนเองสนใจ ภายใต้การดูแล และแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา การพัฒนาโครงงานดังกล่าวอาจจะเป็นการพัฒนาหรือปรับใช้ระบบสารสนเทศ หรือการจัดทำแผนระบบสารสนเทศ หรือการวิจัยด้านระบบสารสนเทศ

รส.772 การค้นคว้าอิสระ 2 3 (3-0-6)
IS 772 Independent Study II
ศึกษาและทำโครงงานด้านระบบสารสนเทศที่ต่อเนื่องจากการค้นคว้าอิสระ 1

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม

สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)