Course Structure 2567

โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการธุรกิจ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567

หลักสูตรการศึกษาแบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา โดยนักศึกษาสามารถเลือกศึกษาแผนใดแผนหนึ่งดังต่อไปนี้

จำนวนหน่วยกิต แผน 1 แบบวิชาการ
(วิทยานิพนธ์)
แผน 2 แบบวิชาชีพ
(การค้นคว้าอิสระ)
วิชาบังคับ 21 21
วิชาเลือก 6 15
วิทยานิพนธ์ 12
การค้นคว้าอิสระ 3
รวม 39 39
course-structure-2562-msmis

วิชาในหลักสูตร

COURSE OFFERED

รายวิชาเสริมพื้นฐาน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน, ปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์ และข้อมูลสำหรับธุรกิจ, การสื่อสารทางธุรกิจ

วิชาบังคับ

เทคโนโลยีดิจิทัล กลยุทธ์ดิจิทัล และการแปลงให้เป็นดิจิทัล, การจัดการธุรกิจดิจิทัล, การจัดการข้อมูลสมัยใหม่และปัญญาธุรกิจ, สถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างว่องไว, การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ, การปฏิบัติการและการจัดการความมั่นคงไซเบอร์, ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ

วิชาเลือก

การจัดการนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการภายในองค์กร, การบริหารดิจิทัลโปรเจ็กต์, การวิเคราะห์ ออกแบบ และปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ, การตลาดดิจิทัล, จากการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอไจล์สู่องค์กรอไจล์, ประสบการณ์ผู้ใช้งาน/ส่วนประสานผู้ใช้งาน และ ประสบการณ์ของลูกค้า, การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง, การออกแบบการแสดงผลข้อมูลธุรกิจด้วยภาพ, การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ทางธุรกิจ, การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา, คุณภาพของระบบสารสนเทศ, การจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่, การตรวจสอบความมั่นคงไซเบอร์, การวิเคราะห์ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งเพื่อการปรับปรุงธุรกิจ

วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน 1 แบบวิชาการ)

วิทยานิพนธ์

การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน 2 แบบวิชาชีพ)

การค้นคว้าอิสระ 

แผน 1 แบบวิชาการ

(ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์)

controla

วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต

choicea

วิชาเลือก 6 หน่วยกิต

thesisa

วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผน 2 แบบวิชาชีพ

(ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

controlb

วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต

choiceb

วิชาเลือก 15 หน่วยกิต

researchb

การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต

รายละเอียดหลักสูตร

1) วิชาเสริมพื้นฐาน 5 หน่วยกิต

(1) วิชาเสริมพื้นฐาน 5 หน่วยกิต

นักศึกษาจะต้องศึกษาวิชาเสริมพื้นฐานจำนวน 4 วิชา ให้ได้ผลคะแนน P (ผ่าน) ก่อน จึงจะสามารถศึกษาวิชาในระดับปริญญาโทของหลักสูตรได้ จำนวนหน่วยกิตและค่าระดับที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวจะไม่นำมาคิดรวมกับหลักสูตร ดังต่อไปนี้

1) นักศึกษาสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีหรือสูงกว่า เกี่ยวกับการพัฒนาระบบหรือการเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่ง จะได้รับการยกเว้นวิชา รส.551 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้านที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบหรือการเขียนโปรแกรม อาจได้รับการยกเว้นวิชา รส.551 ถ้าสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีความรู้พอที่จะได้รับการยกเว้น

2) นักศึกษาสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีทางบัญชี หรือ ด้านบริหารธุรกิจจะได้รับการยกเว้นวิชา รส.501 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร ไม่ต้องจดทะเบียนเรียนวิชาเสริมพื้นฐานดังกล่าว

3) นักศึกษาทุกคนจะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน รส.552 ปัญญาประดิษฐ์คลาวด์ และข้อมูล สำหรับธุรกิจ และ รส.591 การสื่อสารทางธุรกิจ

 

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)

รส.501
IS 501
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร
Fundamental of Financial and managerial Accounting

1.5 (1.5-0-4.5)

รส.551
IS 551
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน
Introduction to Programming Concepts with Python

1 (1-0-3)

รส.552
IS 552
ปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์ และข้อมูลสำหรับธุรกิจ
AI, Business, Cloud and Data

1.5 (1.5-0-4.5)

รส.591
IS 591
การสื่อสารทางธุรกิจ
Business Communication

1 (1-0-3)

2) วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต

2) วิชาบังคับ

นักศึกษาทั้งสองแผนการศึกษา ต้องศึกษาวิชาบังคับทั้ง 7 วิชา รวม 21 หน่วยกิต

 

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)

รส.611
IS 611
เทคโนโลยีดิจิทัล กลยุทธ์ดิจิทัล และการแปลงให้เป็นดิจิทัล
Digital technology, Strategy and Transformation

3 (3-0-9)

รส.612
IS 612
การจัดการธุรกิจดิจิทัล
Digital Business Management

3 (3-0-9)

รส.651
IS 651
การจัดการข้อมูลสมัยใหม่และปัญญาธุรกิจ
Modern Data Management and Business Intelligence

3 (3-0-9

รส.652
IS 652
สถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างว่องไว
Agile Enterprise Architecture for Organizational Transformation

3 (3-0-9)

รส.653
IS 653
การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ
Business Data Analytics

3 (3-0-9)

รส.654
IS 654
การปฏิบัติการและการจัดการความมั่นคงไซเบอร์
Cyber Security Operations and management

3 (3-0-9)

รส.691
IS 691
ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ
Research Methodology in Information Systems

3 (3-0-9)

3) วิชาเลือก

3) วิชาเลือก

1) นักศึกษา แผน 1 แบบวิชาการ ให้เลือกศึกษา 2 วิชา รวม 6 หน่วยกิต

2) นักศึกษา แผน 2 แบบวิชาชีพ ให้เลือกศึกษา 5 วิชา รวม 15 หน่วยกิต

โดยเลือกศึกษาจากรายวิชา ดังต่อไปนี้

 

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)

รส.706
IS 706
การจัดการนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการภายในองค์กร
Digital Innovation Management for Startup Entrepreneurs and Intrapreneurs

3 (3-0-9)

รส.716
IS 716
การบริหารดิจิทัลโปรเจ็กต์
Digital Project Management

3 (3-0-9)

รส.717
IS 717
การวิเคราะห์ ออกแบบ และปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ
Analysis, Design and Improving Business Processes

3 (3-0-9)

รส.718
IS 718
การตลาดดิจิทัล
Digital Marketing

3 (3-0-9)

รส.756
IS 756
จากการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอไจล์สู่องค์กรอไจล์
From Agile Software Development to Agile Organization

3 (3-0-9

รส.757
IS 757
ประสบการณ์ผู้ใช้งาน/ส่วนประสานผู้ใช้งาน และ ประสบการณ์ของลูกค้า
UX/UI and Customer Experience

3 (3-0-9)

รส.758
IS 758
การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง
Advanced Data Analytics

3 (3-0-9)

รส.759
IS 759
การออกแบบการแสดงผลข้อมูลธุรกิจด้วยภาพ
Business Data Visualization

3 (3-0-9)

รส.766
IS 766
การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ทางธุรกิจ
Programming for Solving Business Problems

3 (3-0-9)

รส.767
IS 767
การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา
Mobile Application Development

3 (3-0-9)

รส.768
IS 768
คุณภาพของระบบสารสนเทศ
Information System Quality

3 (3-0-9)

รส.777
IS 777
การจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่
Modern Database Management

3 (3-0-9)

รส.778
IS 778
การตรวจสอบความมั่นคงไซเบอร์
Cyber security audit

3 (3-0-9)

รส.779
IS 779
การวิเคราะห์ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งเพื่อการปรับปรุงธุรกิจ
Internet of Things Analytics for Business Improvement

3 (3-0-9)

4) วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผนวิชาการ) 12 หน่วยกิต

4) วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผนวิชาการ) 12 หน่วยกิต

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

รส.800
IS 800
วิทยานิพนธ์
Thesis

12

5) การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษาแผนวิชาชีพ) 3 หน่วยกิต

5) การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษาแผนวิชาชีพ) 3 หน่วยกิต

รหัส

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

รส.770
IS 770
การค้นคว้าอิสระ
Independent Study

3

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา วิชาเสริมพื้นฐาน

รส.501 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร 1.5 (1.5-0-4.5)
IS 501 Fundamental of Financial and managerial Accounting
หลักการบัญชีการเงินและบัญชีบริหารเบื้องต้น กระบวนการบันทึกข้อมูลทางบัญชี จนถึงการ ออกงบการเงิน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ และควบคุม ทางการเงินที่เป็นประโยชน์ผู้บริหาร

รส.551 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน 1 (1-0-3)
IS 551 Introduction to Programming Concepts with Python
บทนำเกี่ยวกับภาษาโปรแกรมไพธอน ชนิดข้อมูล ตัวแปร และตัวดำเนินการ การทำงานกับข้อมูลประเภทต่าง ๆ โครงสร้างการควบคุมพื้นฐานในภาษาไพธอน ไลบรารีโมดูล และฟังก์ชันในไพธอน

รส.552 ปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์ และข้อมูลสำหรับธุรกิจ 1.5 (1.5-0-4.5)
IS 552 AI, Business, Cloud and Data
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ ธุรกิจ คลาวด์ และข้อมูล หลักการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ หลักการทำธุรกิจ หลักการคอมพิวเตอร์คลาวด์ หลักการข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ในธุรกิจคลาวด์คอมพิวเตอร์ในธุรกิจ ข้อมูลในธุรกิจ การรวมปัญญาประดิษฐ์และคลาวด์คอมพิวเตอร์ วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ โครงการปัญญาประดิษฐ์ ธุรกิจ คลาวด์ และข้อมูล แนวโน้มอนาคตของ AI ธุรกิจ คลาวด์ และข้อมูล

รส.591 การสื่อสารทางธุรกิจ 1 (1-0-3)
IS 591 Business Communication
หลักการสื่อสารให้ได้ผล สภาพแวดล้อมภายในองค์กร และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการสื่อสาร การฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจ การวางแผนและการนำเสนอผลงาน ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร รวมทั้งเทคนิคและรูปแบบการสื่อสารในแบบต่าง ๆ

คำอธิบายรายวิชา วิชาบังคับ

รส.611 เทคโนโลยีดิจิทัล กลยุทธ์ดิจิทัล และการแปลงให้เป็นดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 611 Digital technology, Strategy and Transformation
พื้นฐานของการจัดการธุรกิจ ความต้องการสำหรับการแปลงให้เป็นดิจิทัล ผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ/ เทคโนโลยีเกิดใหม่ คำจำกัดความและกรณีศึกษาเกี่ยวกับการแปลงให้เป็นดิจิทัล หลักการของกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

รส.612 การจัดการธุรกิจดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 612 Digital Business Management
แนวคิด รูปแบบ กลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล รวมถึงศึกษาทางเลือกต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจดิจิทัลและการเชื่อมโยงระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการชำระเงิน ระบบขนส่ง ระบบการทำการตลาดของธุรกิจออนไลน์ รวมถึงการประเมินผลสำเร็จของธุรกิจออนไลน์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศของธุรกิจดิจิทัลที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

รส.651 การจัดการข้อมูลสมัยใหม่และปัญญาธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 651 Modern Data Management and Business Intelligence
ความรู้พื้นฐานของระบบฐานข้อมูล วิวัฒนการของฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล การใช้ภาษาฐานข้อมูล SQL (Structural Query Language) ในการสร้างฐานข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ ข้อแตกต่างระหว่างฐานข้อมูลปฏิบัติการและคลังข้อมูล การโมเดลคลังข้อมูล รวมถึงการใช้เครื่องมือด้าน Business intelligence ในการโมเดลข้อมูลและนำเสนอรายงานเพื่อการตัดสินใจ และประเด็นการจัดการฐานข้อมูลในสภาพแวดล้อมใหม่และจริยธรรมในการใช้ข้อมูล

รส.652 สถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างว่องไว 3 (3-0-9)
IS 652 Agile Enterprise Architecture for Organizational Transformation
บทบาทของการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลที่กระทบกับองค์กร ลักษณะของการปรับเปลี่ยนขององค์กรที่ว่องไว (Agile Organization) แนวคิด บทบาทและความสำคัญของสถาปัตยกรรมวิสาหกิจ (Enterprise Architecture หรือ EA) ขั้นตอนในการพัฒนา EA แบบต่าง ๆ การประเมินความเสี่ยงและการลงทุน และการจัดการและแนวโน้มของ  EA  ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รส.653 การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 653 Business Data Analytics
เส้นทางของข้อมูล สภาพแวดล้อมของข้อมูล การตั้งคำถามจากข้อมูล การเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกไปสู่การตัดสินใจ ทักษะเชิงข้อมูล โปรเจกต์การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล หลักการพื้นฐานสำหรับวิศวกรข้อมูล กระบวนการทำงานกับข้อมูลตั้งแต่ต้นจนจบ การควบรวมข้อมูล การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการจากข้อมูล การสร้างไปป์ไลน์สำหรับข้อมูลและแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning: ML) หลักการในการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ และการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพอย่างมีประสิทธิผล

รส.654 การปฏิบัติการและการจัดการความมั่นคงไซเบอร์ 3 (3-0-9)
IS 654 Cyber Security Operations and management
แนวคิดการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO27002 ประกอบด้วย organization controls, people controls, physical controls, และ technological controls การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรตามกรอบแนวคิด Cobit และกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝึกหัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้องค์กรมีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม รวมถึงแผนการทำให้ระบบสารสนเทศกลับคืนสู่สภาพเดิมจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจการวิเคราะห์ความเสี่ยงของเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร การกำหนดมูลค่าการรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุน เข้าใจเทคนิคการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ รวมถึงการสร้างความตระหนักในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

รส.691 ระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 691 Research Methodology in Information Systems
แนวคิด หลักการ รูปแบบ ขั้นตอนในการทำวิจัยทางธุรกิจ (ประกอบด้วย การระบุปัญหา การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดกรอบการวิจัย การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การจัดทำเครื่องมือเพื่อการวิจัย การวิเคราะห์ผลการวิจัย และการรายงานผลการวิจัย) นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติจัดทำวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการเลือกหัวข้อวิจัย จัดทำข้อเสนอการวิจัย ปฏิบัติการวิจัยและรายการผลการวิจัยทางธุรกิจ นอกจากนี้นักศึกษาจะได้ศึกษาการจัดทำวิจัยเชิงคุณภาพในเบื้องต้นด้วย

คำอธิบายรายวิชา วิชาเลือก

รส.706 การจัดการนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการภายในองค์กร 3 (3-0-9)
IS 706 Digital Innovation Management for Startup Entrepreneurs and Intrapreneurs
ภาพรวมของการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการ ความคิดสร้างสรรค์แผนธุรกิจ การวางแผนนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบองค์กรเพื่อสร้างนวัตกรรม การจัดหาเทคโนโลยีดิจิทัลและการทำงานร่วมกัน กรณีศึกษานวัตกรรมดิจิทัล

รส.716 การบริหารดิจิทัลโปรเจ็กต์ 3 (3-0-9)
IS 716 Digital Project Management
วงจรการพัฒนา ความหลากหลายของตัวแบบ แนวคิด และระเบียบวิธีต่าง ๆ (Approaches and Methodologies) ที่ใช้พัฒนาระบบสารสนเทศ แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน กระบวนการและกิจกรรมของการบริหารโครงการดิจิทัล หลักการและเทคนิคการบริหารโครงการดิจิทัลทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ องค์ความรู้ของการบริหารโครงการ (PMBOK) ประกอบด้วยหลักการและเทคนิคการบริหารขอบเขตโครงการ (project scope) การบริหาร ทรัพยากรทั้งบุคลากร เวลา และเงินงบประมาณ การบริหารการสื่อสาร (Communication management) การบริหารการจัดซื้อ/จัดหา (Procurement management) การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ (Risk management) การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง (Change management) และการบริหารการบูรณาการ (Integration management) มาตรฐานและหลักปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมและปรับปรุงคุณภาพของระบบสารสนเทศโดยใช้ตัวแบบ CMMI การจัดทำ TOR และการใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารโครงการจริง

รส.717 การวิเคราะห์ ออกแบบ และปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 717 Analysis, Design and Improving Business Processes
การวัดผลิตภาพของกระบวนการ ภาพรวมของการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและโครงสร้างองค์กรในลักษณะที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process-Driven) การวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจเพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุง โครงสร้างและกลยุทธ์ในการปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์เชิงกระบวนการ สถาปัตยกรรมกระบวนการ การออกแบบกระบวนการและการวิเคราะห์ช่องว่าง แนวคิดแบบลีนและการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจตามแนวคิดแบบลีน แนวคิดซิกส์ซิกม่า (Six-Sigma) และการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจตามแนวคิดซิกส์ซิกม่า ตัวอย่างของการโมเดลกระบวนการธุรกิจ เครื่องมือสำหรับการสร้างโมเดลแสดงโฟลว์การทำงาน และข้อกำหนดของสถาปัตยกรรมสำหรับกระบวนการธุรกิจใหม่

รส.718 การตลาดดิจิทัล 3 (3-0-9)
IS 718 Digital Marketing
ศึกษากระบวนการจัดการการตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการตลาด การวิเคราะห์การแข่งขันและพฤติกรรมลูกค้า วางแผนกลยุทธ์และกิจกรรมการตลาด ภาพรวมการตลาดดิจิทัล เข้าใจ ความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนกำหนดกลยุทธ์การตลาด อาทิ การนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด การก าหนดกลยุทธ์ด้วยการสร้างเนื้อหา การวางแผนการ สื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลชนิดต่าง ๆ การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา และเครื่องมือ การตลาดดิจิทัลเกิดใหม่

รส.756 จากการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอไจล์สู่องค์กรอไจล์ 3 (3-0-9)
IS 756 Programming with Modern Language
การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอไจล์และสกรัม การจัดการทีมแบบอไจล์ลีนกับอไจล์การแปลงให้เป็นอไจล์ความเป็นผู้นำและกลยุทธ์แบบอไจล์

รส.757 ประสบการณ์ผู้ใช้งาน/ส่วนประสานผู้ใช้งาน และ ประสบการณ์ของลูกค้า 3 (3-0-9)
IS 757 UX/UI and Customer Experience
แนวคิดและเครื่องมือในการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานและส่วนประสานผู้ใช้งานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า การวิจัยผู้ใช้งานและลูกค้า แนวคิดเกี่ยวกับเส้นทางของผู้ใช้งาน การทดสอบโดยผู้ใช้งาน และ แนวโน้มอนาคตของการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานและส่วนประสานผู้ใช้งาน

รส.758 การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง 3 (3-0-9)
IS 758 Advanced Data Analytics
วิธีและเทคนิคขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่ใหญ่และซับซ้อน ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติ, การสร้างแบบจำลองทายผล, การเรียนรู้เชิงลึก และการขุดค้นข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาธุรกิจที่ซับซ้อน หลักสูตรนี้เน้นหัวข้อเช่นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสำรวจและสกัดความรู้, การสร้างแบบจำลองเชิงสถิติ, การจัดกลุ่มและการจำแนก, การประมวลผลภาษาธรรมชาติ, และการเรียนรู้เชิงลึก รวมถึงการสร้างภาพข้อมูลพื้นฐานและการสื่อสารข้อมูลทางวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเพิ่มพูนความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงสำหรับการตัดสินใจที่ดีขึ้นและการปรับปรุงธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

รส.759 การออกแบบการแสดงผลข้อมูลธุรกิจด้วยภาพ 3 (3-0-9)
IS 759 Business Data Visualization
การนำเสนอข้อมูลธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพผ่านวิธีการที่น่าสนใจและเข้าใจง่ายทางภาพ เรียนรู้หลักการ, ทฤษฎี, และเครื่องมือในการสร้างกราฟและการแสดงผลข้อมูลที่มีผลกระทบ, เพื่อเพิ่มทักษะในการสื่อสารข้อมูลธุรกิจเพื่อการตัดสินใจที่มีข้อมูลและกลยุทธ์ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

รส.766 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ทางธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 766 Programming for Solving Business Problems
ภาษาโปรแกรมมิ่งได้รับความนิยมและเฟรมเวิร์คที่เกี่ยวข้อง สถาปัตยกรรมฟรอนต์เอนด์ แบ็คเอนด์และฟูลสแตกท์ จุดเด่น ข้อจำกัดของภาษาและลักษณะงานที่เหมาะสมในการประยุกตใช้ภาษา เครื่องมือสำคัญที่ใช้สำหรับการทำงานกับแต่ละภาษาและเฟรมเวิร์ค การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับแก้โจทย์ธุรกิจโดยใช้มากกว่าหนึ่งภาษาโปรแกรมมิ่ง ประเด็นและข้อกังวลสำหรับแต่ละภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใช้

รส.767 การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา 3 (3-0-9)
IS 767 Mobile Application Development
สถาปัตยกรรม โครงสร้าง และหลักการทำงานของโปรแกรมเครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนอุปกรณ์พกพา ภาษาโปรเแกรมมิ่งที่ใช้บนอุปกรณ์พกพา การวางโครงสร้างหน้าจอและเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอ การปฏิสัมพันธ์ผ่านลากนิ้ว การสัมผัสและแป้นพิมพ์ การจัดการสถานะ
การจัดเก็บและการโอนถ่ายข้อมูล หลักการขั้นสูงของการจัดการข้อมูลภายในแอปพลิเคชัน การเชี่อมโยงกับระบบคลาวด์ การส่งมอบและเผยแพร่แอปพลิเคชัน

รส.768 คุณภาพของระบบสารสนเทศ 3 (3-0-9)
IS 768 Information System Quality
การรับรองคุณภาพระบบสารสนเทศและมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงในองค์กร ศึกษาเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของคุณภาพระบบสารสนเทศ รวมถึงการวัดค่าคุณภาพ การประเมิน และการปรับปรุง หัวข้อที่นำเสนอได้แก่ ความเชื่อถือได้ ความปลอดภัย การใช้งานได้สะดวก ประสิทธิภาพ และความสมบูรณ์ของข้อมูล

รส.777 การจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่ 3 (3-0-9)
IS 777 Modern Database Management
การจัดการฐานข้อมูลในสภาพแวดล้อมคลาวด์ แนวคิดและคุณสมบัติของฐานข้อมูลแบบกระจาย ประเภทของโมเดลฐานข้อมูลที่ไม่ใช่แบบสัมพันธ์ (NOSQL) ข้อมูลมหัต อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง และการนำไปประยุกต์ใช้

รส.778 การตรวจสอบความมั่นคงไซเบอร์ (3-0-9)
IS 778 Cyber security audit
การทำแผนการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักฐานประกอบการตรวจสอบ  และเทคนิคต่าง ๆ ทั้งการตรวจสอบแบบดั้งเดิมและแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตรวจสอบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และค้นหาสิ่งผิดปกติในสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายให้ทราบว่ากิจการมีการติดตั้งระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม รวมทั้งการจำลองการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถจัดทำแผนการตรวจสอบ แบบสอบถาม กระดาษทำการ และการรายงานการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

รส.779 การวิเคราะห์ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งเพื่อการปรับปรุงธุรกิจ 3 (3-0-9)
IS 779 Internet of Things Analytics for Business Improvement
หลักการสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอที รวมถึงการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์  นักศึกษาจะได้สำรวจว่าเซ็นเซอร์ อุปกรณ์ และเครือข่ายไอโอทีสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในการดำเนินธุรกิจได้อย่างไร นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้วิธีการใช้เทคนิคทางสถิติขั้นสูงและการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อวิเคราะห์และโมเดลข้อมูลที่ผลิตโดยอุปกรณ์ไอโอทีซึ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าสำหรับการตัดสินใจที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างโอกาสในการเติบโตใหม่ ๆ

วิทยานิพนธ์

รส.800 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
IS 800 Thesis
สร้างโครงการวิจัยและดำเนินการวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียนรายงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ รวมถึงมีจริยธรรมในการทำวิจัยและเผยแพร่ผลงาน

การค้นคว้าอิสระ

รส.770 การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
IS 770 Independent Study
จัดทำโครงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการธุรกิจที่ตนเองสนใจ ภายใต้การดูแล และแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา การพัฒนาโครงงานดังกล่าวอาจจะเป็นการพัฒนาหรือปรับใช้ระบบสารสนเทศ หรือการจัดทำแผนระบบสารสนเทศ หรือการวิจัยด้านระบบสารสนเทศ

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม

สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)